กฎหมายและระเบียบพิธีการศุลกากรที่ผู้เดินทางเข้า-ออกประเทศไทยผ่านทางท่าอากาศยานระหว่างประเทศควรทราบ กรมศุลกากรให้บริการด้านพิธีการศุลกากรแก่ผู้โดยสารที่เดินทางผ่านเข้ามาในและออกไปนอกราชอาณาจักรไทยผ่านทางท่าอากาศยานดอนเมืองโดยแบ่งการให้บริการออกเป็นพิธีการสำหรับผู้โดยสารขาเข้าและผู้โดยสารขาออก ดังต่อไปนี้
กรมศุลกากรจัดการให้บริการแก่ผู้โดยสารที่เดินทางผ่านเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตามมาตรฐานสากลและหลักการให้บริการ เพื่อความสะดวกราบรื่น (Facilitate of Service) ขององค์การศุลกากรโลก
โดยแบ่งช่องตรวจศุลกากรออกเป็นสองช่อง คือ
* พระพุทธรูป ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ โดยกรมศิลปากร
* อาวุธปืน กระสุน วัตถุระเบิด โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
* พืช และส่วนต่างๆของพืช โดยกรมวิชาการเกษตร
* สัตว์มีชีวิต และซากสัตว์ โดยกรมปศุสัตว์ หรือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
* อาหาร ยา โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
* ชิ้นส่วนยานพาหนะ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม
* บุหรี่ ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยกรมสรรพสามิต
* เครื่องมือวิทยุสื่อสาร อุปกรณ์โทรคมนาคม โดยสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงาน คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช)
ผู้โดยสารสามารถนำเข้าเงินไทย (บาท) ได้โดยไม่จำกัดมูลค่า กรณีนำเข้าเงินสกุลต่างประเทศที่เป็นธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์มีมูลค่ารวมแล้วเกินกว่า 20,000 เหรียญสหรัฐ ต้องสำแดงรายการเงินตราต่างประเทศนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ขณะผ่านด่านศุลกากร หากไม่สำแดง หรือสำแดงรายการไม่ถูกต้อง มีความผิดทางอาญา
ผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยและมีของที่ต้องชำระภาษีอากร ของต้องกำกัดซึ่งไม่ประสงค์จะนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยสามารถนำของดังกล่าวมาเก็บไว้ในอารักขาศุลกากรได้ ณ สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานที่เดินทางเข้ามาเป็นเวลาไม่เกิน 2 เดือน โดยต้องแสดงตั๋วเดินทาง ไปประเทศที่สาม ณ เวลาที่นำของมาฝากและชำระค่าธรรมเนียมในอัตราที่กำหนดด้วยในวันเดินทางออกนอกราชอาณาจักรซึ่งผู้โดยสารสามารถขอรับของ ดังกล่าวคืนโดยแจ้งเจ้าหน้าที่สายการบินขณะยื่นตั๋วเดินทาง
อัตราค่าธรรมเนียมในการรับฝาก น้ำหนักหีบห่อ ค่าธรรมเนียมต่อวัน (บาท)
หมายเหตุ : เศษของวันให้นับเป็น 1 วัน
การขอรับของคืนจาก Customs Bond เอกสารที่ต้องนำมาแสดง
หมายเหตุ : กรณีมิได้นำเข้าราชอาณาจักร สามารถฝากที่ Customs bond ได้ โดยชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
กรณีนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในลักษณะของติดตัวผู้โดยสาร (Accompanied Baggage)
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
- ใบ Health Certificate และ/หรือ
- Pedigree และ/หรือ
- หลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงความเป็นเจ้าของเพื่อให้เจ้าหน้าที่พิจารณา
กรณีเงินไทย (บาท) ออกไปนอกราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 50,000 บาท ยกเว้นต้องการนำออกไปประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยและประเทศเวียดนาม สามารถนำออกไปได้ไม่เกิน 500,000 บาท
หมายเหตุ : ตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 112/2556 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556 มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินไทยที่ควบคุมการนำออกไปนอกราชอาณาจักร คือ การนำเงินตราไทยที่เป็นธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์อันมีมูลค่ารวมกันเกิน 450,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท ออกไปยังประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยและประเทศเวียดนาม และประเทศจีน(เฉพาะมณฑลยูนนาน) ต้องแจ้งรายการต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรขณะที่ผ่านด่านศุลกากร โดยแจ้งรายการตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนด
กรณีเงินต่างประเทศสกุลอื่นๆ ที่เป็นธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ออกไปนอกราชอาณาจักร โดยมีมูลค่ารวมกันเกินกว่า 20,000 ดอลล่าร์สหรัฐหรือเทียบเท่า ต้องสำแดงรายการเงินตราต่างประเทศนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ขณะผ่านด่านศุลกากร
เจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำที่ศุลกากรขาออก ทำหน้าที่ตรวจรับรองสินค้า ที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ณ จุดตรวจในห้องโถงผู้โดยสารระหว่างประเทศ ขาออก ก่อนที่ผู้โดยสารจะนำของเข้า CHECK IN ที่เค้าเตอร์ของสายการบิน
สิ่งที่จะต้องนำเข้ามาเพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจ
สินค้าประเภทอัญมณี ที่ประกอบตัวเรือน หรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา หรือปากกา ที่มีราคาตั้งแต่ 10,000 บาท เมื่อนำมาผ่านการตรวจของศุลกากร ณ ท่าอากาศยานแล้ว ให้นำสินค้าดังกล่าวติดตัวนักท่องเที่ยวไปให้เจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจก่อนรับคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
นักท่องเที่ยวที่มีสิทธิได้คืนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องมีลักษณะดังนี้ คือ
ผู้โดยสารที่ต้องการนำของใช้ส่วนตัวติดตัวออกไประหว่างการเดินทาง เช่น นาฬิกา สร้อยคอ แหวน กล้องถ่ายวีดีโอ กล้องถ่ายรูป วิทยุเทป คอมพิวเตอร์สำหรับพกพา ฯลฯ และประสงค์จะนำกลับมาภายในประเทศโดยได้รับการยกเว้นอากร ผู้โดยสารจะต้องนำของดังกล่าว พร้อมบัตรที่นั่งบนเครื่องบิน (Boarding Pass) หนังสือเดินทาง และตั๋วโดยสาร มาแสดงแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ที่ทำการขาออก เพื่อบันทึกรายละเอียดและรับสำเนาเอกสารไว้สำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำช่องตรวจสีแดงในวันเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทย
ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
หากผู้โดยสารมีของที่มิใช่ของใช้ส่วนตัว แต่มีลักษณะเป็นสินค้าในเชิงการค้า เช่น กล้วยไม้ หรือของใช้ชนิดอื่นๆ โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรล่วงหน้า เพื่อแนะนำไห้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรขาออกก่อนการเดินทาง
ห้ามไม่ให้ผู้ใดส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร ไม่ว่าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุนั้นจะเป็นโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วหรือไม่ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร โดยการขอใบอนุญาตจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2539)
กรณีที่โบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุที่ขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักรเป็นพระพุทธรูปหรือรูปเคารพในศาสนา ผู้รับใบอนุญาตจะต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักรด้วย
การพิจารณาอนุญาตให้ส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุประเภทพระพุทธรูปหรือรูปหรือรูปเคารพในศาสนาออกนอกราชอาณาจักร จะอนุญาตให้ส่งออกเฉพาะพระพุทธรูปหรือรูปเคารพในศาสนาที่มีสภาพสมบูรณ์ และจะต้องส่งออกไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสักการบูชา การศึกษาวิจัย หรือจัดนิทรรศการทางวิชาการเท่านั้น โดยจะไม่อนุญาตให้ส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุประเภทพระพุทธรูป หรือรูปเคารพในศาสนาในสภาพที่เป็นชิ้นส่วนออกนอกราชอาณาจักร
การซื้อสินค้าจากร้านค้าปลอดอากรในเมืองต้องนำออกไปยังต่างประเทศเท่านั้น หากมีการนำกลับเข้ามาภายในราชอาณาจักรอีกจะต้องชำระอากรที่ช่องแดง